ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเปรียบเทียบการติดอยู่และการป้องกันฟันผุของวัสดุชนิดแก้วไอโอโนเมอร์กับชนิดเรซินในการเคลือบหลุมร่องฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่ง |
นักวิจัย | : | พรรณรัตน์ มณีรัตนรังษี |
คำค้น | : | PIT AND FISSURE , SEALANT , GLASS IONOMER , RETENTION , CARIES |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2542 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082542000719 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การติดแน่นและประสิทธิผลในการป้องกันฟันผุของสารเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซินเป็นที่ยอมรับกันมานานหากมีการสูญเสียวัสดุเรซินไปจากหลุมร่องฟันซึ่งอาจเกิดจากการที่วัสดุมีเทคนิคการทำที่อ่อนไหวแล้ว หลุมร่องฟันบริเวณนั้นอาจจะเกิดการผุได้ จึงมีการนำแก้วไอโอโนเมอร์มาใช้แทนวัสดุชนิดเรซิน เนื่องจากแก้วไอโอโนเมอร์สามารถยึดติดกับฟันด้วยพันธะเคมี นอกจากนี้แก้วไอโอโนเมอร์ยังสามารถปล่อยฟลูออไรด์ช่วยในการป้องกันฟันผุได้อีกด้วย ดังนั้นการเคลือบหลุมร่องฟันด้วยแก้วไอโอโนเมอร์จึงอาจลดปัญหาการผุภายหลังจากวัสดุหลุดไปจากหลุมร่องฟัน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้จึงเปรียบเทียบการติดอยู่และการป้องกันฟันผุของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดแก้วไอโอโนเมอร์ (Fuji IXGP) กับชนิดเรซิน (Delton(...)) ในการเคลือบหลุมร่องฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่ง โดยทำการศึกษาแบบสปลิทเม้าธ์ ในเด็กนักเรียนอายุ 7-9 ปี จำนวน 90 คนตัวอย่างคือฟันกรามถาวรบนซี่ที่หนึ่ง 85 คู่ และฟันกรามถาวรล่างซี่ที่หนึ่ง 32 คู่ สุ่มอย่างง่ายเลือกฟันในข้างซ้ายหรือขวาของขากรรไกรเพื่อเคลือบหลุมร่องฟันด้วยแก้วไอโอโนเมอร์ อีกข้างหนึ่งเคลือบด้วยวัสดุเรซิน เคลือบหลุมร่องฟันโดยทันตแพทย์ผู้เดียว จากนั้นตรวจการติดอยู่ของวัสดุทั้งสองเมื่อเวลา 6 และ 12 เดือน และตรวจหาฟันผุเมื่อเวลา 12 เดือน โดยทันตแพทย์อีกผู้หนึ่งตลอดการศึกษา ทดสอบความแม่นยำในการตรวจคำนวณเป็นค่าดัชนีแคปปามีค่าเท่ากับ 0.99 อัตราการเกิดอยู่ทั้งหมดของวัสดุแก้วไอโอโนเมอร์และเรซินในฟันกรามถาวรบนซี่ที่หนึ่งเมื่อเวลา 6 เดือนเท่ากับร้อยละ 47 และ 66.7 ตามลำดับ เมื่อเวลา 12 เดือนเท่ากับร้อยละ 18.2 และ 36.4 ตามลำดับส่วนที่เหลือทั้งหมดมีวัสดุติดอยู่บางส่วน ไม่มีฟันซี่ใดที่สูญเสียวัสดุไปทั้งหมด การติดอยู่ของวัสดุทั้งสองชนิดนี้ในฟันกรามถาวรบนซี่ที่หนึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งเมื่อเวลา 6 เดือน (p=.042) และเมื่อเวลา 12 เดือน (p=.028) อัตราการติดอยู่ทั้งหมดของวัสดุแก้วไอโอโนเมอร์และเรซินในฟันกรามถาวรล่างซี่ที่หนึ่งเมื่อเวลา 6 เดือนเท่ากับร้อยละ 24 และ 36 ตามลำดับ เมื่อเวลา 12 เดือนเท่ากับร้อยละ 0 และ 8 ตามลำดับ ส่วนที่เหลือทั้งหมดมีวัสดุติดอยู่บางส่วน ไม่มีฟันซี่ใดที่สุญเสียวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันไปทั้งหมด การติดอยู่ของวัสดุทั้งสองชนิดนี้ในฟันกรามถาวรล่างซี่ที่หนึ่ง ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.05) เมื่อเวลา 6 และ 12 เดือน อัตราการติดอยู่ทั้งหมดของวัสดุแก้วไอโอโนเมอร์และเรซินในฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่งเมื่อเวลา 6 เดือนมีค่าร้อยละ 40.7 และ 58.2 ตามลำดับ เมื่อเวลา 12 เดือนเท่ากับร้อยละ 13.2 และ 28.6 ตามลำดับ ซึ่งการคิดอยู่ของวัสดุทั้งสองชนิดนี้ในฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งเมื่อเวลา 6 เดือน (p= .027) และเมื่อเวลา 12 เดือน(p= .013) เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบฟันผุในฟันกรามถาวรล่างซี่ที่หนึ่งที่เคลือบหลุมร่องฟันด้วยแก้วไอโอโนเมอร์ 1 ซี่ และในฟันกรามถาวรบนซี่ที่หนึ่งที่เคลือบหลุมร่องฟันด้วยเรซิน 1 ซี่ซึ่งทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.05) ของวัสดุทั้งสองชนิดในการเกิดฟันผุ |
บรรณานุกรม | : |
พรรณรัตน์ มณีรัตนรังษี . (2542). การศึกษาเปรียบเทียบการติดอยู่และการป้องกันฟันผุของวัสดุชนิดแก้วไอโอโนเมอร์กับชนิดเรซินในการเคลือบหลุมร่องฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่ง.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. พรรณรัตน์ มณีรัตนรังษี . 2542. "การศึกษาเปรียบเทียบการติดอยู่และการป้องกันฟันผุของวัสดุชนิดแก้วไอโอโนเมอร์กับชนิดเรซินในการเคลือบหลุมร่องฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่ง".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. พรรณรัตน์ มณีรัตนรังษี . "การศึกษาเปรียบเทียบการติดอยู่และการป้องกันฟันผุของวัสดุชนิดแก้วไอโอโนเมอร์กับชนิดเรซินในการเคลือบหลุมร่องฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่ง."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2542. Print. พรรณรัตน์ มณีรัตนรังษี . การศึกษาเปรียบเทียบการติดอยู่และการป้องกันฟันผุของวัสดุชนิดแก้วไอโอโนเมอร์กับชนิดเรซินในการเคลือบหลุมร่องฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่ง. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2542.
|