ชื่อเรื่อง | : | การคัดแยกและหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสไปรูสินา เพื่อผลิตไพโคไซยานิน |
นักวิจัย | : | ดวงรัตน์ อินทร |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2534 |
อ้างอิง | : | http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082534000157 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | ทำการแยกสาหกร่ายสไปรูลินาจากบ่อเลี้ยงเต่าวัดเบญจมบพิตร และบึงมักกะสัน โดยนำมากรองด้วยผ้ากรองขนาด 40 ไมครอนและเลี้ยในอาหารเลี้ยงเชื้อซาร์รูค นำสาหร่ายจากสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติมาทำการทดลองด้วยรวมเป็น 3 สายพันธุ์ ทำให้เป็นยูนิแอลกัล โดยวิธีซึงเกิลเซลไอโซเลชันหาสภาวะที่เหมาะสมเพื่อให้สาหร่ายสไปรูลินาสังเคราะห์ไพโคไซนานินในปริมาณสูง โดยปรับสูตรอาหารเลี้ยงเชื้อซาร์รูคที่เปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของโซเดียมไบคาร์บอเนต โซเดียมไนเตรต ไดโปตัสเซียมไฮโดรเจน ฟอสเฟต โซเดียมคลอไรด์ รวมทั้งศึกษาถึงความเข้มของแสงและชนิดของแสงที่เหมาะสมด้วย พบว่าสภาวะที่เหมาะสมคือ ไซเดียมไบคาร์บอเนต 8.4 กรัม/ลิตร โซเดียมคลอไรด์ 1 กรัม/ลิตรโซเดียมไนเตรต 2.5 กรัม/ลิตร ไดโปตัสเซียมไฮโดรเจนฟอสเฟต 0.185กรัม/ลิตร โซเดียมคลอไรด์ 1 กรัม/ลิตร ความเข้มแสงที่ 5000 ลักซ์ และทั้งในแสงสีเขียวและแสงสีแดงสาหร่ายสังเคราะห์ไพโคไซยานิน ในปริมาณที่สูงกว่าแสงขาว จากการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงระดับ ของโซเดียมไนเตรตพบว่าเมื่อเพิ่มความเข้มของโซเดียมในเตรตจาก 0.33 กรัม/ลิตร เป็น2.5 กรัม/ลิตร ไม่มีผลต่อการเจริญของสาหร่ายสไปรูลินาและปริมาณไพโคไซยานิน แต่เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของโซเดียมไนเตรตจาก 2.5 กรัม/ลิตรเป็น 10 กรัม/ลิตร พบว่าไพโคไซยานินมีปริมาณสูงขึ้น ทำการเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินาในสภาวะที่เหมาะสม แยกสกัดไพโคไซยานินและทำให้บริสุทธิ์ โดยการตกตะกอนด้วยแอมโนเนียมซัลเฟต 20-65% นำไปผ่านคอลัมน์ ดีอีเออี-เซลลูโลสและเซฟาเดกซ์จี-150 เมื่อนำไพโคไซยานินที่ได้ไปตรวจด้วยโซเดียมโดเดซึลซัลเฟต โพลีอะคริลาไมด์เจลอิเลคโตรโฟริซึส พบว่าประกอบด้วย 2 แบนด์ ซึ่งมีความเข้มของแบนด์ไม่เท่ากัน ซึ่งคาดว่าจะเป็นไพโคไซยานินและอัลโลไพโคไซยานินออกจากกัน โดยพบว่าสามารถแยกได้ไพโคไซยานินที่บริสุทธิ์ ซึ่งวิเคราะห์ด้วยโซเดียม โดเดซึลซัลเฟตโพลีอะคริลาไมด์เจลอิเลคโตรโพรึซัส พบว่ามีขนาดโมเลกุลของหน่วยย่อยประมาณ 14,000 ดาลตัน ในสาหร่ายวัดเบญจฯ และ 13,000 ดาลตันในสาหร่ายจากสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติและบึงมักกะสัน |
บรรณานุกรม | : |
ดวงรัตน์ อินทร . (2534). การคัดแยกและหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสไปรูสินา เพื่อผลิตไพโคไซยานิน.
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ดวงรัตน์ อินทร . 2534. "การคัดแยกและหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสไปรูสินา เพื่อผลิตไพโคไซยานิน".
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย. ดวงรัตน์ อินทร . "การคัดแยกและหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสไปรูสินา เพื่อผลิตไพโคไซยานิน."
กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย, 2534. Print. ดวงรัตน์ อินทร . การคัดแยกและหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสไปรูสินา เพื่อผลิตไพโคไซยานิน. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย; 2534.
|