ชื่อเรื่อง | : | อิทธิพลขององค์ประกอบในโมเดลเคนที่มีต่อผลการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูในโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน |
นักวิจัย | : | ดิเรก สุขสุนัย, 2501- |
คำค้น | : | วิจัยปฏิบัติการ , การศึกษา--วิจัย , วิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | นงลักษณ์ วิรัชชัย , ทิศนา แขมมณี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745312304 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/555 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จิตลักษณะและความเพียรทางปัญญา ของครูในสถานศึกษาที่มีระดับความสำเร็จในการดำเนินงานตามโครงการ วพร. ภาคภูมิศาสตร์ สังกัด ระดับการศึกษาของครูและตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน โดยมีตัวแปรควบคุมคือประโยชน์ทางวิชาการจากพี่เลี้ยงทางวิชาการ และ 2) ตรวจสอบความตรง และความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลผลการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (CARP Model) ที่พัฒนามาจากโมเดลเคน (CANE Model) ของ Clark ระหว่างกลุ่มสถานศึกษาที่มีระดับความสำเร็จมากและน้อย กลุ่มตัวอย่างเป็นครู 678 คน จากสถานศึกษา 37 แห่ง ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากประชากรครูในโครงการ วพร. เครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินคุณภาพและคุณค่ารายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และแบบสอบถาม มีช่วงพิสัยค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.69-0.96 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมตัวแปรพหุนาม ด้วยโปรแกรม SPSS 10.10 วิเคราะห์ตรวจสอบความตรงและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลด้วยโปรแกรม LISREL 8.52 ผลการวิจัยสำคัญ สรุปได้ว่า 1) ครูมีค่าเฉลี่ยของผลการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ที่วัดจากความรู้ความสามารถในการวิจัย และคุณภาพงานวิจัยที่ครูจัดทำอยู่ในระดับปานกลาง คุณค่าของงานวิจัยระดับสูง ตัวแปรจิตลักษณะที่มี 5 ตัว มีค่าเฉลี่ยระดับสูง และสูงมาก ครูในสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จสูง ครูที่มีการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ครูในภาคกลาง ครูในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยและสถาบันราชภัฎ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของตัวแปรจิตลักษณะและตัวแปรผลการวิจัยปฏิบัติการสูงกว่าครูกลุ่มอื่นๆ 2) โมเดล CARP มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่อนข้างดี (ค่าไค-สแควร์ = 67.232 องศาอิสระ = 52, ค่า P = 0.0760, GFI = 0.988, AGFI = 0.966) ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างกลุ่มสถานศึกษาที่มีความสำเร็จต่างกัน 2 กลุ่ม พบว่าโมเดล ไม่แปรเปลี่ยนด้านรูปแบบ แต่มีความแปรเปลี่ยนของพารามิเตอร์น้ำหนักองค์ประกอบและพารามิเตอร์อื่นๆ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตในโมเดลสรุปได้ว่าความผูกพันต่อเป้าหมายงานส่งอิทธิพลทางตรงต่อความเพียรทางปัญญาซึ่งมีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน |
บรรณานุกรม | : |
ดิเรก สุขสุนัย, 2501- . (2547). อิทธิพลขององค์ประกอบในโมเดลเคนที่มีต่อผลการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูในโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดิเรก สุขสุนัย, 2501- . 2547. "อิทธิพลขององค์ประกอบในโมเดลเคนที่มีต่อผลการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูในโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ดิเรก สุขสุนัย, 2501- . "อิทธิพลขององค์ประกอบในโมเดลเคนที่มีต่อผลการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูในโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. ดิเรก สุขสุนัย, 2501- . อิทธิพลขององค์ประกอบในโมเดลเคนที่มีต่อผลการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูในโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|