ชื่อเรื่อง | : | การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา |
นักวิจัย | : | บุบผา เมฆศรีทองคำ, 2506- |
คำค้น | : | การวิเคราะห์เนื้อหา , การศึกษา--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2547 |
อ้างอิง | : | 9745319597 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/535 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะงานวิจัยที่ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา 2) เพื่อสังเคราะห์ให้ได้สภาพปัจจุบันของความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา รวมทั้งเปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างของผลการวิจัยที่ได้ในการศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาและสังเคราะห์สรุปให้ได้ความเกี่ยวข้องระหว่างคุณลักษณะงานวิจัยและผลการวิจัย และ 3) เพื่อวิเคราะห์ถึงแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโดยงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบ "การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน" จำนวน 10 เล่ม ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2545 ผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์ระดับปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาโทโดยศึกษาในประเด็นวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมากที่สุด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ คือ ผู้นำชุมชนโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงมากที่สุด โรงเรียนที่ศึกษาส่วนใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและใช้วิธีการสังเกตเป็นวิธีการในการเก็บรวบรวมข้อมูลมากที่สุด 2. ผลการสังเคราะห์มี 2 ประเด็นที่ปรากฏในงานวิจัยทั้ง 10 เรื่อง ได้แก่ 1) ประเภทบุคคลที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คือ ผู้ปกครองนักเรียนกับผู้นำชุมชนและนักการเมืองท้องถิ่น และ 2) ลักษณะการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา คือ ร่วมสละเงิน แรงงาน วัสดุสิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทางโรงเรียนและเป็นวิทยากรในชั้นเรียน/ให้สัมภาษณ์นักเรียน และจากการเปรียบเทียบความเหมือนหรือความต่างของผลการวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ซึ่งมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มงานวิจัยที่มีสารสนเทศเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุน/ปัจจัยอุปสรรคที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาอย่างหลากหลายและมีครอบคลุมหลายประเด็นและกลุ่มงานวิจัยที่ไม่ค่อยมีสารสนเทศและข้อค้นพบเกี่ยวกับปัจจัยดังกล่าวพบว่ามีคุณลักษณะงานวิจัยที่แตกต่างกัน 7 ประเด็น คือ ประเภทงานวิจัย ระดับการศึกษาสถาบันที่ผลิตงานวิจัย ปีที่ทำงานวิจัยเสร็จ ประเด็นวิจัยที่ศึกษา บริบทของโรงเรียนที่ศึกษาและพื้นที่ที่ศึกษา 3. ผลการวิเคราะห์มี 4 ปัจจัยในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา คือ 1) ปัจจัยโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนให้โอกาสชุมชน ลักษณะของโรงเรียน โรงเรียนที่มีคุณภาพ ความรู้สึกผูกพันกับโรงเรียน ความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียน ความร่วมมือร่วมพลังและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของโรงเรียน 2) ปัจจัยผู้บริหาร ได้แก่ ภูมิหลัง ผู้บริหารที่มีคุณภาพ คุณลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะการทำงาน ความมีมนุษยสัมพันธ์ ความศรัทธาต่อผู้บริหารและการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน 3) ปัจจัยครู ได้แก่ ภูมิหลัง คุณลักษณะส่วนบุคคล การเห็นคุณค่าของชุมชน ลักษณะการทำงาน ความมีมนุษยสัมพันธ์ ความศรัทธาต่อครู ความรู้สึกผูกพันระหว่างชุมชนกับครูและการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน และ 4)ปัจจัยชุมชน ได้แก่ ลักษณะของชุมชน ภูมิหลังของคนในชุมชน ความรู้สึกผูกพันกันในชุมชน ความศรัทธาต่อบุคลากรในโรงเรียน ความรู้สึกผูกพันกับโรงเรียน การเห็นคุณค่าของการเข้ามามีส่วนร่วมและความร่วมมือร่วมพลัง |
บรรณานุกรม | : |
บุบผา เมฆศรีทองคำ, 2506- . (2547). การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุบผา เมฆศรีทองคำ, 2506- . 2547. "การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุบผา เมฆศรีทองคำ, 2506- . "การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. Print. บุบผา เมฆศรีทองคำ, 2506- . การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
|