ชื่อเรื่อง | : | กลยุทธ์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย |
นักวิจัย | : | นพวรรณ บุญธรรม |
คำค้น | : | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน , สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย -- การบริหาร , สถาบันวิจัย -- ไทย -- การบริหาร , Private universities and colleges , Universities and colleges -- Thailand -- Administration , Research institutes -- Thailand -- Administration |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์ , วราภรณ์ บวรศิริ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33065 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนของไทยและต่างประเทศ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความพร้อมที่จะพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย และเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในต่างประเทศ จำนวน 4 คน 2) ผู้บริหารงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในประเทศไทย จำนวน 6 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้บริหารหน่วยงานด้านวิจัย จำนวน 3 คน 4) ผู้บริหารงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย จำนวน 102 คน 5) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้บริหารจากสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการวิจัยที่เข้าประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) ในการกำหนดและตรวจสอบกลยุทธ์ในภาพรวม จำนวน 8 คน ในการตรวจสอบและรับรองกลยุทธ์ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์สาระ 2) แบบสำรวจข้อมูล 3) แบบสัมภาษณ์ และ 4) แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยความสำเร็จที่จะนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย เช่น โครงสร้างพื้นฐานขององค์กรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย วัฒนธรรมองค์กรที่มีอิสระทางวิชาการ สภาพแวดล้อม และสิ่งสนับสนุนต่างๆ ที่เอื้อต่อการผลิตผลงานวิจัย เช่น งบประมาณ อาคารสถานที่ อุปกรณ์เครื่องมือในการวิจัย ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อความสำเร็จสูงสุด คือมีอาจารย์และนักศึกษาที่มีศักยภาพในการทำวิจัย มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและผู้นำที่มีวิสัยทัศน์สร้างสรรค์ ที่สำคัญที่สุด คือ มีแผนกลยุทธ์เป็นแผนที่นำทางสู่การพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย 2) สภาพปัจจุบันและความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พบว่า ขาดแคลนอาจารย์ที่ทำวิจัยทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ไม่มีระบบจูงใจส่งเสริมอาจารย์ให้ทำวิจัยโดยเฉพาะกับผู้ที่มีความสามารถด้านวิจัยสูง ทำให้การเผยแพร่ผลงานและการนำไปใช้ประโยชน์มีน้อย การทำวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็นการดำเนินงานตามพันธกิจ และถูกผลักดันให้ดำเนินการสู่มาตรฐานตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาเท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่า สถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถลงทุนในเรื่องระบบฐานข้อมูลวิจัยเพื่อการสืบค้นได้เช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากมีงบประมาณที่จำกัด จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมโดยวางแผนกลยุทธ์เชิงบูรณาการเพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางการวิจัยที่ชัดเจนก่อนจึงสามารถจะพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย 3) กลยุทธ์ที่นำเสนอ คือ V-A-L-U-E ประกอบด้วย (1) กลยุทธ์วิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ (Vision Creatively) 2) กลยุทธ์สู่การรับรองคุณภาพและคุณค่างานวิจัย (Accreditation on Quality) 3) กลยุทธ์ผลิตผลงานและการใช้ประโยชน์ (Utility of Research) 4) กลยุทธ์สร้างเครือข่ายและความร่วมมือด้านวิจัย (Linkage and Network) 5) กลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ (Efficiency of Management): ซึ่งเป็นการเสนอกลยุทธ์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ในภาพรวมและกรณีศึกษามหาวิทยาลัยสยาม |
บรรณานุกรม | : |
นพวรรณ บุญธรรม . (2553). กลยุทธ์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นพวรรณ บุญธรรม . 2553. "กลยุทธ์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นพวรรณ บุญธรรม . "กลยุทธ์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Print. นพวรรณ บุญธรรม . กลยุทธ์การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
|