ชื่อเรื่อง | : | การเคลือบอนุภาคเงินลงบนผิวแก้วด้วยการจุ่มเคลือบแบบไม่ใช้ไฟฟ้า |
นักวิจัย | : | เนตรชนก จิตรวรนันท์ |
คำค้น | : | อนุภาคซิลเวอร์นาโน , กระบวนการเคลือบผิว , การจุ่มเคลือบ , การเคลือบแบบไม่ใช้ไฟฟ้า , การเคลือบผิวด้วยเงิน , Coating processes , Electroless plating , Silvering |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดุจฤทัย พงษ์เก่า คะชิมา , ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32619 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 งานวิจัยนี้ศึกษาการเคลือบอนุภาคเงินลงบนผิวแก้วด้วยการจุ่มเคลือบแบบไม่ใช้ไฟฟ้าในสารละลายทอลเลนส์ (Tollen’s reagent) พบว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการยึดติดระหว่างฟิล์มเงินกับผิวแก้ว ปัจจัยเรื่องการสั่นด้วยอัลตราโซนิคไม่สามารถช่วยให้เกิดการยึดติดที่ดีของฟิล์มเงินกับผิวแก้วได้ ในขณะที่การปรับผิวด้วยวิธีทางกายภาพนั้นส่งเสริมการยึดติดที่ดีมากกว่าการปรับผิวด้วยวิธีทางเคมี การปรับผิวแบบสองขั้นตอนด้วยวิธีการขัดด้วยกระดาษทรายหมายเลข 320 จากนั้นกัดผิวด้วยกรดไฮโดรฟลูออริกเป็นเวลา 90 วินาที (SPHF) นั้นให้ค่าการยึดติดที่ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพผิวแก้วที่ผ่านการปรับผิวด้วยวิธีอื่นๆ อีก 5 ภาวะโดยแสดงผลการทดสอบด้วยวิธี Cross-cut test (method B) ในระดับ 5Bนอกจากนี้ยังพบว่าอุณหภูมิยังมีส่วนช่วยส่งเสริมการยึดติดให้มีมากขึ้น โดยชิ้นงานฟิล์มเงินหลังผ่านกระบวนการทางความร้อนแสดงค่าการยึดติดบนผิวแก้วดีกว่าชิ้นงานก่อนผ่านกระบวนการทางความร้อน เลือกชิ้นงานฟิล์มเงินที่แสดงค่าการยึดติดกับผิวแก้วดีที่สุดจากภาวะการปรับสภาพผิวแก้วด้วยวิธี SPHF มาวิเคราะห์สมบัติความชอบน้ำโดยการวัดมุมสัมผัสและวิเคราะห์การต้านแบคทีเรียด้วยวิธีการกระจายเชื้อและเคลียร์โซนของฟิล์มเงินที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังจากผ่านกระบวนการทางความร้อนที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส พบว่าเมื่อสภาพผิวเปลี่ยนจะทำให้ค่ามุมสัมผัสเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งผิวแก้วที่ปรับผิวด้วยวิธี SPHF ก่อนการเคลือบฟิล์มเงินจะแสดงสมบัติความชอบน้ำมากที่สุด แต่ภายหลังจากการเคลือบฟิล์มเงินลงผิวแก้วดังกล่าวจะแสดงสมบัติความชอบน้ำที่ลดลง และเมื่อฟิล์มเงินผ่านกระบวนการทางความร้อนจะทำให้กลับมามีสมบัติความชอบน้ำที่ใกล้เคียงกับผิวแก้วก่อนการเคลือบฟิล์มเงินอีกครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่าชิ้นงานฟิล์มเงินก่อนและหลังจากผ่านกระบวนการทางความร้อน แสดงสมบัติการต้านเชื้อ E.coli ทดสอบด้วยวิธีการกระจายเชื้อได้ 99.99% และ 100% ตามลำดับ แต่การทดสอบด้วยวิธีเคลียร์โซนจะไม่พบ Inhibition zone ที่ชัดเจน โดยสามารถยับยั้งแบคทีเรียในบริเวณที่สัมผัสกับฟิล์มเงินเท่านั้น |
บรรณานุกรม | : |
เนตรชนก จิตรวรนันท์ . (2554). การเคลือบอนุภาคเงินลงบนผิวแก้วด้วยการจุ่มเคลือบแบบไม่ใช้ไฟฟ้า.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เนตรชนก จิตรวรนันท์ . 2554. "การเคลือบอนุภาคเงินลงบนผิวแก้วด้วยการจุ่มเคลือบแบบไม่ใช้ไฟฟ้า".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เนตรชนก จิตรวรนันท์ . "การเคลือบอนุภาคเงินลงบนผิวแก้วด้วยการจุ่มเคลือบแบบไม่ใช้ไฟฟ้า."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. Print. เนตรชนก จิตรวรนันท์ . การเคลือบอนุภาคเงินลงบนผิวแก้วด้วยการจุ่มเคลือบแบบไม่ใช้ไฟฟ้า. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
|