ชื่อเรื่อง | : | การศึกษาเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานเป็นช่วง และการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานต่อเนื่องที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย |
นักวิจัย | : | สุภาพ พงษ์สุวรรณ, 2514- |
คำค้น | : | สมรรถภาพทางกาย , การเต้นแอโรบิก |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วิชิต คนึงสุขเกษม , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2545 |
อ้างอิง | : | 9741723695 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/311 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ศึกษาและเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรยิกแบบผสมผสานเป็นช่วง และการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานต่อเนื่องที่มีต่อ น้ำหนักตัว อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะพัก ความอ่อนต้ว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง เปอร์เซ็นต์ไขมัน สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ความจุดปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกสตรีของศูนย์ฝึกและบริหารกาย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อายุระหว่าง 25-45 ปี มีสุขภาพดี อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการจับคู่ (Matched group) จากผลการทดสอบสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 20 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานเป็นช่วง กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานต่อเนื่อง ใช้เวลาทดลอง 10 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 45 นาที วัดสมรรถภาพทางกาย ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 5 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 10 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า "ที" (T-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way analysis of variance with repeated measures) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ตามวิธีของ ตูกี (tukey medthod) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานเป็นช่วง ก่อนการทดลอง หลักการทดลอง 5 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 10 สัปดาห์ มีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง เปอร์เซ็นต์ไขมัน สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ความจุปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานต่อเนื้อง ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 5 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 10 สัปดาห์ มีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก เปอร์เซ็นต์ไขมัน สมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ความจุปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. หลังการทดลองกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานเป็นช่วง มีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักลดลง และมีสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นมากกว่า กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานต่อเนื่อง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 |
บรรณานุกรม | : |
สุภาพ พงษ์สุวรรณ, 2514- . (2545). การศึกษาเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานเป็นช่วง และการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานต่อเนื่องที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภาพ พงษ์สุวรรณ, 2514- . 2545. "การศึกษาเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานเป็นช่วง และการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานต่อเนื่องที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภาพ พงษ์สุวรรณ, 2514- . "การศึกษาเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานเป็นช่วง และการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานต่อเนื่องที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. Print. สุภาพ พงษ์สุวรรณ, 2514- . การศึกษาเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานเป็นช่วง และการเต้นแอโรบิกแบบผสมผสานต่อเนื่องที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
|