ชื่อเรื่อง | : | ผลของการฝึกมิราเคิลไทซิประยุกต์ที่มีต่อสุขสมรรถนะและไขมันในเลือดในหญิงสูงอายุ |
นักวิจัย | : | ฉัตรดาว อนุกูลประชา |
คำค้น | : | ไท้เก๊กสำหรับผู้สูงอายุ -- การใช้รักษา , สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ , ไขมันในเลือด |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดรุณวรรณ สุขสม , อรรถกร ปาละสุวรรณ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29241 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกมิราเคิลไทชิประยุกต์ที่มีต่อสุขสมรรถนะ และไขมันในเลือดในหญิงสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุเพศหญิง อายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 40 คน สุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 12 คน กลุ่มฝึกไทชิ จำนวน 15 คน และ กลุ่มฝึกมิราเคิลไทชิประยุกต์ จำนวน 13 คน กลุ่มฝึกออกกำลังกายทั้ง 2 กลุ่ม ทำการฝึกวันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทุกคนได้รับการทดสอบสุขสมรรถนะและเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวิเคราะห์ไขมันในเลือดก่อนการทดลองและหลังการทดลอง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างก่อนและหลังการทดลองโดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ และเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรระหว่างกลุ่มทดลองโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ กลุ่มฝึกไทชิมีค่าเฉลี่ยของความจุปอด การทรงตัวขณะอยู่กับที่บนพื้นเรียบเปิดตาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มฝึกมิราเคิลไทชิประยุกต์มีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ไขมันลดลง แต่มีมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของต้นแขนด้านหลัง ความแข็งแรงของต้นขาด้านหน้า ความแข็งแรงของต้นขาด้านหลัง การทรงตัวบนพื้นยืดหยุ่น ปริมาตร หายใจออกใน 1 วินาที และ สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดสูงขึ้น โดยค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดของกลุ่มฝึกมิราเคิลไทชิประยุกต์สูงกว่ากลุ่มฝึกไทชิและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มฝึกมิราเคิลไทชิประยุกต์มีระดับไฮเดนซิตี้ไลโปโปรตีนในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่กลุ่มควบคุมและ กลุ่มฝึกไทชิ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ สรุปได้ว่า การฝึกมิราเคิลไทชิประยุกต์มีผลช่วยพัฒนาสุขสมรรถนะของผู้สูงอายุได้ดีกว่าการฝึกไทชิ จึงเหมาะสมที่จะเป็นทางเลือกในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้นต่อไป |
บรรณานุกรม | : |
ฉัตรดาว อนุกูลประชา . (2553). ผลของการฝึกมิราเคิลไทซิประยุกต์ที่มีต่อสุขสมรรถนะและไขมันในเลือดในหญิงสูงอายุ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉัตรดาว อนุกูลประชา . 2553. "ผลของการฝึกมิราเคิลไทซิประยุกต์ที่มีต่อสุขสมรรถนะและไขมันในเลือดในหญิงสูงอายุ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉัตรดาว อนุกูลประชา . "ผลของการฝึกมิราเคิลไทซิประยุกต์ที่มีต่อสุขสมรรถนะและไขมันในเลือดในหญิงสูงอายุ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Print. ฉัตรดาว อนุกูลประชา . ผลของการฝึกมิราเคิลไทซิประยุกต์ที่มีต่อสุขสมรรถนะและไขมันในเลือดในหญิงสูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
|