ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบปริมาณแรงเสียดทานระหว่างแบรกเกตและลวดเหล็กกล้าไร้สนิมที่มีขนาดลวดและมุมที่กระทำต่างกัน |
นักวิจัย | : | ผกายพฤทธิ์ สุตังคานุ, 2518- |
คำค้น | : | แรงเสียดทาน , แบรกเก็ตเซรามิก , เหล็กกล้าไร้สนิม , ทันตครรมจัดฟัน |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สมรตรี วิถีพร , ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2546 |
อ้างอิง | : | 9741746075 , http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/126 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความแตกต่างของแรงเสียดทาน ทั้งแรงเสียดทานสถิตและแรงเสียดทานจลน์ระหว่างแบรกเกตเหล็กกล้าไร้สนิม และลวดเหล็กกล้าไร้สนิมขนาด 0.016 นิ้ว 0.018 นิ้ว 0.016x0.016 นิ้ว และ 0.016x0.022 นิ้ว เมื่อมีมุมกระทำระหว่างลวดและร่องแบรกเกตเป็น 0 1 2 3 4 6 8 และ 10 องศา ความรู้ที่ได้จะเป็นแนวทางสำหรับทันตแพทย์ในการพิจารณาเลือกใช้ลวดที่มีขนาดเหมาะสมในการเคลื่อนฟันให้มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นแบรกเกตเหล็กกล้าไร้สนิมขนาด 0.018x0.025 นิ้ว 120 ตัวอย่าง และลวดเหล็กกล้าไร้สนิม 4 ขนาด ขนาดละ 240 ตัวอย่าง แบ่งแบรกเกตเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ตัวอย่าง และแบ่งลวดเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่ม นำแบรกเกตและลวดยึดติดกับเครื่องมือจับแบรกเกตและเครื่องมือจัดลวดที่ยึดติดกับฟิกส์เฮดและครอสเฮดของเครื่องยูนิเวอร์เซลเทสติงมะชีน ตามลำดับ ใช้วงแหวนยางมัดลวดติดกับแบรกเกต ซึ่งได้ตั้งมุมที่ต้องการไว้แล้ว ทำการดึงลวดผ่านแบรกเกตในสภาพแห้งด้วยความเร็ว 1 มิลลิเมตรต่อนาที การแปลผลแรงเสียดทานสถิตพิจารณาในขณะที่ลวดเริ่มเคลื่อน ส่วนการแปลผลแรงเสียดทานจลน์พิจารณาค่าเฉลี่ยของแรงในขณะที่ลวดเคลื่อนไปแล้ว 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 มิลลิเมตร และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแรงเสียดทาน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียว (one-way ANOVA ที่ p<0.05) ในกรณีที่ผลการวิเคราะห์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของแต่ละคู่ด้วย Tukey HSD เมื่อความแปรปรวนมีค่าเท่ากัน หรือสถิติ Tamhane's T2 เมื่อความแปรปรวนมีค่าไม่เท่ากัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยแรงเสียดทานเมื่อลวดมีขนาดเท่ากันแต่มีการเปลี่ยนแปลงมุมกระทำระหว่างลวดและร่องแบรกเกต โดยพบว่าเมื่อมุมกระทำระหว่างลวดและร่องแบรกเกตเพิ่มขึ้น แรงเสียดทานทั้งสองประเภทจะเพิ่มขึ้น แต่ลวดขนาดเล็กจะมีค่ามุมวิกฤตสูงกว่าลวดขนาดใหญ่ และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยแรงเสียดทานเมื่อมุมวิกฤตมีค่าคงที่และลวดมีขนาดเปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่าลวดขนาด 0.016 นิ้วทำให้เกิดแรงเสียดทานน้อยที่สุด ส่วนลวดขนาด 0.018 นิ้วทำให้เกิดแรงเสียดทานสถิตมากที่สุด ในขณะที่ลวดขนาด 0.016x0.022 นิ้ว ทำให้เกิดแรงเสียดทานจลน์มากที่สุด |
บรรณานุกรม | : |
ผกายพฤทธิ์ สุตังคานุ, 2518- . (2546). การเปรียบเทียบปริมาณแรงเสียดทานระหว่างแบรกเกตและลวดเหล็กกล้าไร้สนิมที่มีขนาดลวดและมุมที่กระทำต่างกัน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ผกายพฤทธิ์ สุตังคานุ, 2518- . 2546. "การเปรียบเทียบปริมาณแรงเสียดทานระหว่างแบรกเกตและลวดเหล็กกล้าไร้สนิมที่มีขนาดลวดและมุมที่กระทำต่างกัน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ผกายพฤทธิ์ สุตังคานุ, 2518- . "การเปรียบเทียบปริมาณแรงเสียดทานระหว่างแบรกเกตและลวดเหล็กกล้าไร้สนิมที่มีขนาดลวดและมุมที่กระทำต่างกัน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546. Print. ผกายพฤทธิ์ สุตังคานุ, 2518- . การเปรียบเทียบปริมาณแรงเสียดทานระหว่างแบรกเกตและลวดเหล็กกล้าไร้สนิมที่มีขนาดลวดและมุมที่กระทำต่างกัน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
|