ชื่อเรื่อง | : | การรับสัมผัสสารประกอบอินทรีย์ระเหยจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | ไพลิน ทวีวงษ์ |
คำค้น | : | สารประกอบอินทรีย์ระเหย , สถานีบริการน้ำมัน -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศิริมา ปัญญาเมธีกุล , ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21314 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 ศึกษาการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหย (สารวีโอซี) จากสถานีบริการน้ำมันเชื้อพลิงในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการเก็บตัวอย่างสารวีโอซีในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งหมด 11 พื้นที่ ในระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2551 ทำการเก็บตัวอย่างโดยใช้ passive gas tube ที่ภายในบรรจุถ่านกัมมันต์ ทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการเก็บตัวอย่างแบบ active sampling และ passive sampling ได้ค่าสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ (R2) ของความสัมพันธ์ของสาร 10 ชนิด อยู่ระหว่าง 0.7958 – 0.9681 ทำการเก็บตัวอย่างสารวีโอซี โดยการใช้หลอดเก็บตัวอย่าง passive gas tube เป็นเวลา 8 ชั่วโมง จากพนักงานที่รับสัมผัสในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่างเวลา 6.00 – 14.00 น. ตัวอย่างที่เก็บได้นำมาทำการสกัดด้วยสารละลายคาร์บอนไดซัลไฟด์ วิเคราะห์หาชนิด และปริมาณโดยเครื่อง GC-FID จากการศึกษาพบสารวีโอซีจำนวน 39 ชนิดโดยประมาณ ซึ่งพบในทุกพื้นที่การศึกษาและรายงานผลการศึกษาสารวีโอซี 10 ชนิดเป็นหลัก ได้แก่ methy1-teriary-butyl-ether (MTBE), isooctane, n-heptane, toluene, ethylbenzene, m, p-xylene, o-xylene, stylene, 3-ethylbenzene และ decanal เป็นต้น มีปริมาณเฉลี่ยอยู่ในช่วงตั้งแต่ 638-1628, 308-852, 20-49, 140-401, 270-682, 10-27, 22-58, 11-20, 13-26 และ 1.8-9.8 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ จากการเก็บตัวอย่างสารวีโอซีทั้งหมด สารที่สามารถนำมาประเมินความเสี่ยงได้มี 5 ชนิด คือ MTBE, benzene, ethylbenzene, toluene และ xylene ผลการประเมินชี้ให้เห็นว่าพนักงานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็วเนื่องจากรับสัมผัสสารมีค่าความเสี่ยงของการรับสัมผัสสาร MTBE และ benzene เท่ากับ 2.41x10-5 – 1.18x10-4 และ 3.42x10-4 – 1.23x10-3 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่าที่ยอมรับได้ที่กำหนดไว้ที่ 1x10-6 ขณะที่ค่าความเสี่ยงของสาร Ethylbenzene อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สำหรับค่าความเสี่ยงของสารที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งยังไม่พบโอกาสในการเพิ่มความเสี่ยงเนื่องจากการรับสัมผัสสาร toluene และ xylene ซึ่งมีค่า HQ น้อยกว่า 1 |
บรรณานุกรม | : |
ไพลิน ทวีวงษ์ . (2551). การรับสัมผัสสารประกอบอินทรีย์ระเหยจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ไพลิน ทวีวงษ์ . 2551. "การรับสัมผัสสารประกอบอินทรีย์ระเหยจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ไพลิน ทวีวงษ์ . "การรับสัมผัสสารประกอบอินทรีย์ระเหยจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. ไพลิน ทวีวงษ์ . การรับสัมผัสสารประกอบอินทรีย์ระเหยจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|