ชื่อเรื่อง | : | สารต้านอนุมูลอิสระในข้าวดำ ข้าวเหนียวดำ และข้าวแดง : การป้องกันการเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรมจากอนุมูลอิสระและการแสดงออกของยีนสะสมไขมันในเซลล์เพาะเลี้ยง |
นักวิจัย | : | อฑิตยา โรจนสโรช |
คำค้น | : | ข้าว , แอนติออกซิแดนท์ , แอนโทไซยานินส์ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | วาริน แสงกิติโกมล , เทวิน แทนคำเนาว์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20493 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง และความชรา สารต้านอนุมูลอิสระยับยั้งการทำลายของอนุมูลอิสระได้ งานวิจัยนี้ศึกษาข้าวที่มีสารแอนโทไซยานินส์ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมีประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพ โดยเลือกซื้อข้าว 3 ประเภทได้แก่ ข้าวดำ ข้าวแดง และข้าวเหนียวดำ กลุ่มละ 7 ชนิดรวม 21 ชนิด ซื้อมาจากตลาดในกรุงเทพ มาตรวจหาปริมาณรวมสารต้านอนุมูลอิสระ 4 วิธี ได้แก่ Oxygen Radical Absorbance Capacity assay (ORAC), Folin Ciocalteu Phenol Reagent assay (FCP), Vanillin assay (VA) และ Total Anthocyanins Content assay (TAC) พบว่าสารต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดจากข้าวที่ตรวจ 3 วิธีแรก โดยมีความสอดคล้องกันดีมาก (r>0.9) ข้าวเหนียวดำมีค่าสูงสุด รองลงมาคือข้าวแดง และข้าวดำ แต่วิธี TAC assay ให้ผลแตกต่างโดยข้าวดำมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าข้าวแดง โดยที่ข้าวเหนียวดำมีค่าสูงสุด คือ 1368.34 ± 41.27 TE mM/kg dry wt., 922.03 ± 9.42 GE mM/kg dry wt., 218.97 ± 1.82 CE mM/kg dry wt. และ 690 mg/kg dry wt. ตามลำดับ จากนั้นนำสารสกัดข้าวเหนียวดำมาทดสอบกับเซลล์ พบว่าสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระในการทำลาย DNA ของเม็ดเลือดขาวเมื่อตรวจด้วยวิธี Comet Assay ซึ่งผลการยับยั้งแปรผันตามความเข้มข้นของสารสกัดข้าวเหนียวดำ และตรวจพบการยับยั้งอนุมูลอิสระในการทำลายโปรตีนและไขมันของเม็ดเลือดแดงโดยสารสกัดข้าวเหนียวดำ 100-600 µg/ml ยับยั้ง hemolysis และที่ความเข้มข้น 600 µg/ml ยับยั้งการเกิด Heinz bodies ได้ แต่สารสกัดข้าวเหนียวดำ 700-1000 µg/ml ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกเอง อีกทั้งสามารถยับยั้งการอยู่รอดของเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยง HepG2 และ Jurkat โดยมีผลต่อเซลล์เพาะเลี้ยงแปรผันตามระดับความเข้มข้นและเวลาที่เพิ่มขึ้นที่ใช้ในการทดสอบ (Dose and Time dependent manner) นอกจากนี้สารสกัดข้าวเหนียวดำ 600-1000 µg/ml ลดระดับ Oxidative stress ภายในเซลล์ HepG2 (p<0.05) และสารสกัดข้าวเหนียวดำ 200 µg/ml เพิ่มการแสดงออกของยีน LDLR (p<0.05) ของเซลล์ HepG2 ซึ่งเป็นยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการสร้าง LDL receptor บนผนังเซลล์ในการนำ LDL-cholesterol เข้าเซลล์ |
บรรณานุกรม | : |
อฑิตยา โรจนสโรช . (2551). สารต้านอนุมูลอิสระในข้าวดำ ข้าวเหนียวดำ และข้าวแดง : การป้องกันการเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรมจากอนุมูลอิสระและการแสดงออกของยีนสะสมไขมันในเซลล์เพาะเลี้ยง.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อฑิตยา โรจนสโรช . 2551. "สารต้านอนุมูลอิสระในข้าวดำ ข้าวเหนียวดำ และข้าวแดง : การป้องกันการเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรมจากอนุมูลอิสระและการแสดงออกของยีนสะสมไขมันในเซลล์เพาะเลี้ยง".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อฑิตยา โรจนสโรช . "สารต้านอนุมูลอิสระในข้าวดำ ข้าวเหนียวดำ และข้าวแดง : การป้องกันการเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรมจากอนุมูลอิสระและการแสดงออกของยีนสะสมไขมันในเซลล์เพาะเลี้ยง."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. อฑิตยา โรจนสโรช . สารต้านอนุมูลอิสระในข้าวดำ ข้าวเหนียวดำ และข้าวแดง : การป้องกันการเป็นพิษต่อเซลล์และสารพันธุกรรมจากอนุมูลอิสระและการแสดงออกของยีนสะสมไขมันในเซลล์เพาะเลี้ยง. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|