ชื่อเรื่อง | : | การจำแนกสัดส่วนแหล่งกำเนิดของสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) บนอนุภาคในบรรยากาศบริเวณโรงไฟฟ้า |
นักวิจัย | : | รุ่งนภา รักษาทรัพย์ |
คำค้น | : | โพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน , ฝุ่น , มลพิษทางอากาศ , โรงไฟฟ้า |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศิริมา ปัญญาเมธีกุล , ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18952 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 จำแนกสัดส่วนแหล่งกำเนิดของสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) บนอนุภาคในบรรยากาศบริเวณใกล้เคียงโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) จาก 5 จุด บริเวณใกล้เคียงโรงไฟฟ้า ซึ่งเก็บตัวอย่างเดือนละครั้งระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2549 ด้วยเครื่อง High volume air sampler ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นขนาดไม่เกิน 10 ไมครอนในบรรยากาศบริเวณจุดเก็บตัวอย่าง มีค่าระหว่าง 18.0-79.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองรวมจากปล่องทั้ง 8 ของโรงไฟฟ้าซึ่งใช้แก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า วิเคราะห์สารประกอบพีเอเอชที่ดูดซับบน PM10 ทั้ง 16 ชนิด ด้วยเครื่อง GC/MS พบว่า ค่าความเข้มข้นรวมของสารประกอบพีเอเอชทั้ง 16 ชนิด มีค่าระหว่าง 2.5-127.9 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และชนิดของพีเอเอชที่พบมากที่สุดในพื้นที่ศึกษา คือ DBahA (20.8%), BaP (15.8%), BbF (15.0%) และ BghiP (14.5%) ตามลำดับ จากนั้นวิเคราะห์หาสัดส่วนแหล่งกำเนิดของสารประกอบพีเอเอชด้วยแบบจำลองดุลยภาพมวลเคมี รุ่นที่ 8.2 โดยพิจารณาแหล่งกำเนิดของสารประกอบพีเอเอชที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การใช้เชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้า รถยนต์เบนซิน รถยนต์ดีเซลขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รถจักรยานยนต์ 2 และ 4 จังหวะ การเผาไหม้ชีวมวล และฝุ่นดิน ผลของการวิเคราะห์หาสัดส่วนแหล่งกำเนิดของสารประกอบพีเอเอชในพื้นที่ศึกษาพบว่า ในช่วงฤดูแล้ง สารประกอบพีเอเอชมีแหล่งที่มาจากการเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเตา คิดเป็น 57.2% รองลงมาคือ การเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติ (30.2%) และการเผาไหม้ชีวมวล (12.5%) ตามลำดับ ส่วนในช่วงฤดูฝน สารประกอบพีเอเอชมีแหล่งที่มาจากการเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเตา คิดเป็น 45.6% รองลงมาคือ การเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติ (26.2%) รถยนต์เบนซิน (19.1%) รถจักยานยนต์ 2 จังหวะ (4.8%) รถยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ (1.7%) และการเผาไหม้ชีวมวล (0.4%) ตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
รุ่งนภา รักษาทรัพย์ . (2551). การจำแนกสัดส่วนแหล่งกำเนิดของสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) บนอนุภาคในบรรยากาศบริเวณโรงไฟฟ้า.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รุ่งนภา รักษาทรัพย์ . 2551. "การจำแนกสัดส่วนแหล่งกำเนิดของสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) บนอนุภาคในบรรยากาศบริเวณโรงไฟฟ้า".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รุ่งนภา รักษาทรัพย์ . "การจำแนกสัดส่วนแหล่งกำเนิดของสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) บนอนุภาคในบรรยากาศบริเวณโรงไฟฟ้า."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. รุ่งนภา รักษาทรัพย์ . การจำแนกสัดส่วนแหล่งกำเนิดของสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) บนอนุภาคในบรรยากาศบริเวณโรงไฟฟ้า. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|