ชื่อเรื่อง | : | การประมาณเวลาในการเดินทางบนทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครจากการประมวลผลภาพวีดิทัศน์ |
นักวิจัย | : | วรพงศ์ วัจนะเสถียรกุล |
คำค้น | : | เวลาการเดินทาง (วิศวกรรมจราจร) -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สรวิศ นฤปิติ , พลเทพ เลิศวรวนิช , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2553 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18737 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการประมาณเวลาการเดินทางโดยใช้ค่าความเร็วที่รวบรวมได้จากการประมวลผลภาพวีดิทัศน์แบบทันกาล พื้นที่ศึกษาได้แก่ทางพิเศษเฉลิมมหานครช่วงดาวคะนอง-ท่าเรือระยะทาง 8.137 กม. มีสถานีรวบรวมความเร็วทั้งสิ้น 7 สถานี ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยอยู่ในช่วง 5:00-22:00 น. มีปริมาณการจราจร 6,140 คันต่อชั่วโมง ข้อมูลความเร็วนำมาประมาณค่าเวลาการเดินทางบนแต่ละช่วงทางได้จาก 4 วิธีได้แก่ การประมาณจากความเร็วที่จุดกึ่งกลาง ค่าความเร็วเฉลี่ย ค่าความเร็วโดยการถ่วงน้ำหนักจากปริมาณการจราจร และ วิธีซานอันโตนิโอ และรวมค่าเวลาการเดินทางของทั้งสายทางได้จาก 2 วิธีได้แก่ วิธี instantaneous และ วิธี timeslice จากนั้นเปรียบเทียบกับค่าเวลาการเดินทางจริงที่รวบรวมได้จากกล้องวีดิทัศน์เป็นจำนวน 1,632 คัน ผลการศึกษาพบว่าความถูกต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลา (และระดับการติดขัดของการจราจร) กล่าวคือในสภาพการจราจรคล่องตัววิธีซานอันโตนิโอจะให้ความถูกต้องสูงสุด (MAPE มีค่าร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับร้อยละ 14-15 โดยวิธีอื่นๆ) สภาพปริมาณการจราจรหนาแน่นวิธีความเร็วที่จุดกึ่งกลางจะให้ความถูกต้องสูงสุด (MAPE ในช่วงการจราจรเร่งด่วนเช้ามีค่าร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับร้อยละ 23-26 โดยวิธีอื่นๆ) เมื่อเปรียบเทียบวิธีการรวมค่าเวลาการเดินทางของทั้งสายทางพบว่า วิธี timeslice จะให้ค่าเวลาการเดินทางรวมบนสายทางที่แม่นยำกว่าเมื่อพิจารณาวิธีการประมาณค่าเวลาการเดินทางกรณี offline (ทราบข้อมูลทั้งหมด) และ online (มีการคาดการณ์ความเร็วในช่วงเวลาถัดไป) พบว่า วิธี online จะให้ความแม่นยำที่ไม่แตกต่างจากวิธี offline มากนัก ในการนำวิธีการหาค่าเวลาการเดินทางไปใช้งานจริงอาจนำวิธีการประมาณค่าเวลาการเดินทางวิธีต่างๆมาใช้ตามเวลา โดยสามารถปรับปรุงเพิ่มความแม่นยำได้มากกว่าการใช้วิธีการหาค่าเวลาเดินทางวิธีเดียวตลอดทั้งวัน โดยมีความแม่นยำรวมร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับการใช้วิธีการประมาณค่าเวลาการเดินทางเดียวที่มีความแม่นยำร้อยละ 14-20 |
บรรณานุกรม | : |
วรพงศ์ วัจนะเสถียรกุล . (2553). การประมาณเวลาในการเดินทางบนทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครจากการประมวลผลภาพวีดิทัศน์.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรพงศ์ วัจนะเสถียรกุล . 2553. "การประมาณเวลาในการเดินทางบนทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครจากการประมวลผลภาพวีดิทัศน์".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรพงศ์ วัจนะเสถียรกุล . "การประมาณเวลาในการเดินทางบนทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครจากการประมวลผลภาพวีดิทัศน์."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Print. วรพงศ์ วัจนะเสถียรกุล . การประมาณเวลาในการเดินทางบนทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครจากการประมวลผลภาพวีดิทัศน์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
|