ชื่อเรื่อง | : | สภาพและปัญหาการดำเนินงานการจัดการศึกษาระดับอนุบาลของโรงเรียนเทศบาลนครสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
นักวิจัย | : | ขนิษฐา มะปะโท |
คำค้น | : | การบริหารการศึกษา , โรงเรียนเทศบาล , การศึกษาขั้นอนุบาล |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18856 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการ จัดการศึกษาระดับอนุบาลของโรงเรียนเทศบาลนคร สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการบริหารงานทางการศึกษา ด้านครู ด้านการทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน และด้านเด็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร 132 คน และครู 286 คน รวมจำนวน 418 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการบริหารงานทางการศึกษา ผู้บริหารดำเนินการแก้ไขปัญหาของระดับอนุบาลและมีการประสานงานกับระดับ อนุบาลของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเดียวกัน มีหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยโดยมีการประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การจัดทำหลักสูตร มีอาคารเรียนสำหรับอนุบาลและกำหนดให้มีการใช้สื่ออุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเด็ก สำหรับครูมีการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และคู่มือการใช้หลักสูตร และนำหลักสูตรสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ ภายในห้องจัดมุมบล็อค มีพื้นที่สำหรับเด็กเรียนรู้นอกห้องเรียน 2) ด้านครู ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับ พัฒนาการตามวัยและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน เทศบาลนครพิจารณารับครูด้วยตนเอง มีการจัดให้ครูเข้ารับการอบรมกับโรงเรียนอื่นในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น ผู้บริหารให้ครูยึดหลักการประเมินครบทุกด้าน และประเมินด้วยการสังเกตและบันทึกรายละเอียด มีการกำหนดให้มีรายการอาหารกลางวันและของว่างสำหรับเด็ก โดยให้เด็กได้รับสารอาหารครบตามหลักอาหาร 5 หมู่ และจัดให้มีเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำหรับครูใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในการจัดประสบการร์การเรียนรู้ ครูมีการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองและเข้ารับการอบรมกับโรงเรียน อื่นในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเมินผลพัฒนาการโดยการตรวจผลงาน เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของเด็ก มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและบันทึกข้อมูลทุก 3 เดือน ครูให้เด็กล้างมือทุกครั้งหลังปฏิบัติกิจกรรมและรับประทานอาหาร 3) ด้านการทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน ผู้บริหารให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมส่งเสริมให้เด็กยึดถือและปฏิบัติตาม ธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและคำสอนเบื้องต้นของศาสนา โรงเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้น จัดให้เด็กเรียนรู้นอกสถานที่โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน สำหรับครูมีการพูดคุยกับผู้ปกครองในช่วงเช้าเย็น ผู้ปกครองร่วมช่วยเหลือในกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น มีการขอความร่วมมือชุมชน และพาเด็กออกไปเรียนรู้นอกสถานที่ 4) ด้านเด็ก ผู้บริหารคาดหวังให้เด็กเจริญเติบโตสมวัย ร่างกายแข็งแรง ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตใจที่ดีงาม สุขภาพจิตดี มีความสุข ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมให้เด็กได้ทำร่วมกัน และผู้บริหารหาโอกาสเข้าไปพูดคุยกับเด็ก สำหรับครูคาดหวังให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วสมดุล ร่าเริงแจ่มใส ครูมีการทักทายเด็กและผู้ปกครองในช่วงเช้าและเย็น และดูแลการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของเด็ก ปัญหาจากการวิจัยพบว่า งบประมาณไม่เพียงพอ หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยที่มีอยู่เดิมไม่ถูกนำมาใช้จริง เครื่องเล่นสนามขาดแคลน ครูไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็ก ผู้ปกครองมีภารกิจทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียนได้ |
บรรณานุกรม | : |
ขนิษฐา มะปะโท . (2552). สภาพและปัญหาการดำเนินงานการจัดการศึกษาระดับอนุบาลของโรงเรียนเทศบาลนครสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ขนิษฐา มะปะโท . 2552. "สภาพและปัญหาการดำเนินงานการจัดการศึกษาระดับอนุบาลของโรงเรียนเทศบาลนครสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ขนิษฐา มะปะโท . "สภาพและปัญหาการดำเนินงานการจัดการศึกษาระดับอนุบาลของโรงเรียนเทศบาลนครสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. ขนิษฐา มะปะโท . สภาพและปัญหาการดำเนินงานการจัดการศึกษาระดับอนุบาลของโรงเรียนเทศบาลนครสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|