ชื่อเรื่อง | : | วิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงพญาฝัน พญาโศก พญาครวญ สามชั้นทางรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน |
นักวิจัย | : | ชาคริต เฉลิมสุข |
คำค้น | : | ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน, 2494- , พญาโศก , พญาฝัน , พญาครวญ , เพลงไทยเดิม , เพลงไทย , จะเข้ , การแต่งเพลง |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17248 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 วิทยานิพนธ์เรื่องวิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงพญาฝัน พญาโศก พญาครวญ สามชั้น ทางรอง ศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับประวัติของบทเพลงทั้ง 3 เพื่อวิเคราะห์สังคีตลักษณ์ การเคลื่อนที่ของทำนองและกลวิธีพิเศษ และเพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางเดี่ยวทั้ง 3 บทเพลงนี้ การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลเอกสาร การศึกษาประวัติชีวิต การสัมภาษณ์ แบบไม่มีโครงสร้าง โดยมีการนำเสนอข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 บท เมื่อทำการวิเคราะห์ทางเดี่ยวจะเข้เพลง พญาฝัน พญาโศก พญาครวญ สามชั้น ได้ผลสรุปดังนี้ จากการวิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงพญาฝัน พญาโศก พญาครวญ สามชั้น พบว่าเพลงทั้ง 3 เพลงนี้มี ต้นกำเนิดจากเพลงเรื่องพญาโศกของการบรรเลงในปี่พาทย์ การนำมาประพันธ์เป็นทางเดี่ยวจะเข้ในครั้งนี้ พบว่าผู้ประพันธ์มีการวางโครงสร้างเหมือนกันทั้ง 3 เพลง เนื่องจากทั้ง 3 เป็นเพลงท่อนเดียวผู้ประพันธ์จึง วางทำนองเป็นทางโอดในเที่ยวแรกและทางเก็บในเที่ยวกลับ ซึ่งในทางโอดพบว่ามีการเคลื่อนทำนองที่ช้า เป็นการสื่ออารมณ์ตามบทเพลงโดยแทรกกลวิธีพิเศษ เช่น การดีดสะบัด การขยี้ การกล้ำเสียง รูดสาย การดีดทิงนอย การรัวเสียง ส่วนในทางเก็บพบสำนวนกลอนกลอนเก็บที่มีการแทรกการสะบัด ขยี้ และบาง สำนวนเป็นกลอนเพลงที่นำมาจากเดี่ยวขั้นสูง เมื่อเปรียบเทียบการเคลื่อนที่ของทำนองในทางเดี่ยวกับ ทำนองหลักพบว่า การเคลื่อนทำนองในทางเดี่ยวส่วนใหญ่มีทิศทางเดียวกับทำนองหลัก หากแต่จะมีบาง สำนวนที่สวนทางกับทำนองหลักเนื่องจากการวางสำนวนของผู้ประพันธ์ บันไดเสียงของทั้ง 3 เพลงนี้มีการ เปลี่ยนบันไดเสียงเกือบตลอดทั้งเพลงการประพันธ์ยังคงอิงหลักบันไดเสียงเดิมเกือบทุกประโยค หากจะมี บางประโยคที่ผู้ประพันธ์ใช้บันไดเสียงต่างออกไปเนื่องจากการวางสำนวนกลอนแต่ยังคงยึดหลักสำเนียง ของบทเพลงไว้ การวิเคราะห์พบว่าเพลงพญาฝันใช้ 4 บันไดเสียง พญาโศกและพญาครวญใช้ 3 บันไดเสียง ซึ่งการเปลี่ยนบันไดเสียงในบทเพลงเป็นการวัดความสามารถในการประพันธ์สำนวนกลอนของผู้ประพันธ์ ได้เป็นอย่างดี ทางเดี่ยวจะเข้เพลงพญาฝัน พญาโศก พญาครวญ ทางรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน เป็น บทเพลงเดี่ยวจะเข้ที่มีความไพเราะและรวมเอากลวิธีการบรรเลงจะเข้มาบูรณาการไว้อย่างครบถ้วนและมี การประพันธ์โดยยึดเอาหลักการประพันธ์เพลงเดี่ยวตามขนบโบราณอย่างชัดเจน จึงนับได้ว่าเป็นผลงานที่ ยืนยันความสามารถทางด้านดุริยางคศิลป์ของผู้ประพันธ์ได้เป็นอย่างดี |
บรรณานุกรม | : |
ชาคริต เฉลิมสุข . (2552). วิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงพญาฝัน พญาโศก พญาครวญ สามชั้นทางรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชาคริต เฉลิมสุข . 2552. "วิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงพญาฝัน พญาโศก พญาครวญ สามชั้นทางรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชาคริต เฉลิมสุข . "วิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงพญาฝัน พญาโศก พญาครวญ สามชั้นทางรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. ชาคริต เฉลิมสุข . วิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงพญาฝัน พญาโศก พญาครวญ สามชั้นทางรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|