ชื่อเรื่อง | : | บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านที่อยู่อาศัยตามนโยบายการกระจายอำนาจ : กรณีศึกษา เทศบาลนครสมุทรสาคร |
นักวิจัย | : | อำนาจ ธนานันทชัย |
คำค้น | : | การปกครองท้องถิ่น , การกระจายอำนาจปกครอง , ที่อยู่อาศัย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ , วันชัย มีชาติ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17365 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 หลักการกระจายอำนาจมีเป้าหมายไปสู่การสร้างศักยภาพให้กับท้องถิ่นในการปกครองตนเอง พร้อมกับการโอนหน้าที่การจัดบริการสาธารณะต่างๆ ที่แต่เดิมหน่วยราชการส่วนกลางรับผิดชอบ ไปเป็นหน้าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในส่วนบริการสาธารณะทางด้านที่อยู่อาศัยที่เดิม การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในดำเนินการปัจจุบัน ปัจจุบันได้ถูกกำหนดให้ถ่ายโอนให้กับท้องถิ่นดำเนินงานแทน ตามหลักการที่ว่าท้องถิ่นเป็นผู้รู้ปัญหาและสนองตอบต่อความต้องการของท้องถิ่นได้ดีที่สุด ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานมากขึ้น ผลจากการศึกษา กรณีศึกษาเทศบาลนครสมุทรสาคร โดยการเก็บข้อมูลภาคสนามและการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ได้พบว่า หลังจากมีนโยบายการกระจายอำนาจมากกว่าทศวรรษ ปัจจุบันเทศบาลนครสมุทรสาครดำเนินงานด้านที่อยู่อาศัยใน 3 ลักษณะ คือ 1) การดำเนินงานปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคในชุมชน 2) การเป็นผู้ประสานจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และ 3) การรับแนวทางหรือนโยบายการพัฒนาจากองค์กรส่วนกลาง ซึ่งการดำเนินภารกิจยังคงเป็นไปในรูปแบบของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้มีการพิจารณาถึงการสร้างมาตรการในการวางแผนรองรับความต้องการและป้องกันปัญหาในอนาคต รวมถึงขาดการประสานการวางแผนจัดการด้านที่อยู่อาศัยกับวางผังเมือง ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาพื้นที่และเศรษฐกิจของเมือง การดำเนินภาระงานในเรื่องที่อยู่อาศัยของเทศบาลเป็นไปในลักษณะของการแก้ไขปัญหาจากข้อร้องเรียนจากประชาชนเป็นหลัก มิได้เป็นไปในลักษณะของการริเริ่มการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการยกระดับควบคู่ไปกับการพัฒนาเมืองและการวางแผนด้านการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นแต่อย่างใด ทำให้เห็นได้ว่า การดำเนินบทบาททางด้านที่อยู่อาศัยในปัจจุบันของท้องถิ่นเองไม่ได้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องไปกับหลักของการพึ่งพาตนเองตามหลักการกระจายอำนาจ นอกจากนี้ จากการทบทวนวรรณกรรมในเรื่องของบทบาทในการดำเนินงานทางด้านที่อยู่อาศัยของท้องถิ่นในต่างประเทศ คือ อังกฤษ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ทำให้พบว่าในประเทศที่มีระบบการจัดการทางด้านที่อยู่อาศัยที่ก้าวหน้านั้น ท้องถิ่นของประเทศเหล่านี้ ต่างมีอำนาจหน้าที่และแสดงบทบาทของตนในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านที่อยู่อาศัยในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย ทำให้เห็นถึงบทบาทในทางที่ได้รับการคาดหวังที่ขาดหายไป จากการศึกษา จึงเสนอให้เสนอให้เทศบาลนครควรมีการดำเนินบทบาททางด้านที่อยู่อาศัยใน 3 ลักษณะ คือ 1) บทบาทในการเป็นผู้วางแผนและกำหนดนโยบายทางด้านที่อยู่อาศัย 2) บทบาทในการเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ และ3) บทบาทในการเป็นผู้ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนอื่น เพื่อให้การแสดงบทบาททางด้านที่อยู่อาศัยของท้องถิ่นสามารถที่จะบรรลุถึงผลสำเร็จอย่างยั่งยืนตามตามหลักการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง |
บรรณานุกรม | : |
อำนาจ ธนานันทชัย . (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านที่อยู่อาศัยตามนโยบายการกระจายอำนาจ : กรณีศึกษา เทศบาลนครสมุทรสาคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อำนาจ ธนานันทชัย . 2552. "บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านที่อยู่อาศัยตามนโยบายการกระจายอำนาจ : กรณีศึกษา เทศบาลนครสมุทรสาคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อำนาจ ธนานันทชัย . "บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านที่อยู่อาศัยตามนโยบายการกระจายอำนาจ : กรณีศึกษา เทศบาลนครสมุทรสาคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. อำนาจ ธนานันทชัย . บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านที่อยู่อาศัยตามนโยบายการกระจายอำนาจ : กรณีศึกษา เทศบาลนครสมุทรสาคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|