ชื่อเรื่อง | : | ผลของการฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านต่อสุขสมรรถนะและระดับไขมันในเลือด ในหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน |
นักวิจัย | : | ยรรยงค์ พานเพ็ง |
คำค้น | : | สตรีน้ำหนักเกิน , แอโรบิก (กายบริหาร) , สเตปแอโรบิก (กายบริหาร) , สมรรถภาพทางกาย |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ดรุณวรรณ สุขสม , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
ปีพิมพ์ | : | 2552 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16412 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 สร้างและศึกษาผลของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยการเต้นสเตปแอโรบิก ร่วมกับการใช้แรงต้านที่มีต่อสุขสมรรถนะและระดับไขมันในเลือด ในหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการชาวจุฬาสง่างาม เพศหญิง อายุระหว่าง 30-45 ปี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย 25.0-29.99 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 28 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ออกกำลังกายด้วยการฝึกเต้นแอโรบิกตามที่โครงการจัดให้อย่างอิสระ จำนวน 13 คน และกลุ่มที่ 2 ออกกำลังกายด้วยการฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้าน ระดับความหนัก 60-75% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง จำนวน 15 คน ทั้งสองกลุ่มฝึกการออกกำลังกายเป็นระยะเวลา 50 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ก่อนและหลังการทดลอง เก็บข้อมูลตัวแปรทางสรีรวิทยา สุขสมรรถนะ และระดับไขมันในเลือด นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้การทดสอบค่าทีแบบรายคู่ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ภายหลัง 12 สัปดาห์ สุขสมรรถนะของกลุ่มเต้นแอโรบิก ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลัง กล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง และกล้ามเนื้อหน้าอก และมุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่กลุ่มฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก และเปอร์เซ็นต์ไขมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้าน มีการเพิ่มขึ้นของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทุกส่วน มุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด เมื่อเทียบกับก่อนการฝึกออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภายหลัง 12 สัปดาห์ ทั้งกลุ่มเต้นแอโรบิกและกลุ่มฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้าน มีระดับของระดับไฮเดนซิตี้ไลโปโปรตีนเพิ่มขึ้น และมีระดับโลวเดนซิตี้ไลโปโปรตีนลดต่ำลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการฝึกออกกำลังกาย แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในทั้งสองกลุ่มออกกำลังกาย สรุปได้ว่า การเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านมีผลดีต่อการลดน้ำหนัก และเสริมสร้างสมรรถภาพด้านหัวใจและหลอดเลือด ของบุคคลผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าการเต้นแอโรบิก |
บรรณานุกรม | : |
ยรรยงค์ พานเพ็ง . (2552). ผลของการฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านต่อสุขสมรรถนะและระดับไขมันในเลือด ในหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยรรยงค์ พานเพ็ง . 2552. "ผลของการฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านต่อสุขสมรรถนะและระดับไขมันในเลือด ในหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยรรยงค์ พานเพ็ง . "ผลของการฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านต่อสุขสมรรถนะและระดับไขมันในเลือด ในหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552. Print. ยรรยงค์ พานเพ็ง . ผลของการฝึกเต้นสเตปแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านต่อสุขสมรรถนะและระดับไขมันในเลือด ในหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
|