ชื่อเรื่อง | : | ฟ้อนนางเทียม ในพิธีบุญเลี้ยงบ้าน กรณีศึกษา บ้านกาลึม จังหวัดอุดรธานี |
นักวิจัย | : | กนกอร สุขุมาลพงษ์ |
คำค้น | : | การรำ , ฟ้อนผีฟ้านางเทียม , บ้านกาลึม (อุดรธานี) , ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | มาลินี อาชายุทธการ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
ปีพิมพ์ | : | 2551 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15792 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาทหน้าที่ และการฟ้อนนางเทียมในพิธีบุญเลี้ยงบ้าน ของชาวบ้านกาลึม จังหวัดอุดรธานี โดยการนำท่าฟ้อนมาศึกษาวิเคราะห์ เพื่อหาเอกลักษณ์การฟ้อนนางเทียมในพิธีบุญเลี้ยงบ้าน ซึ่งการเก็บข้อมูลใช้วิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ และการจดบันทึก ผลการศึกษาวิจัยปรากฏดังนี้ บ้านกาลึมเป็นสังคมที่มีการนับถือผี มีพิธีกรรมความเชื่อในวิญญาณและอำนาจลึกลับ โดยผีที่ชาวบ้านให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ ผีปู่ตา ซึ่งในทุกปีต้องจัดพิธีบูชา เรียกว่า “พิธีบุญเลี้ยงบ้าน” พิธีบุญเลี้ยงบ้านของชาวบ้านกาลึม มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงออกให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทีต่อปู่ตา ที่ได้คอยปกปักษ์รักษาหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากภัยพิบัติต่างๆ มาโดยตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ในพิธีบุญเลี้ยงบ้าน จะมีจ้ำและนางเทียมทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นจ้ำและนางเทียมได้นั้นจะต้องผ่านการคัดเลือกจากปู่ตา โดยจ้ำมีหน้าที่ในการเป็นสื่อกลางระหว่างปู่ตากับชาวบ้าน ส่วนนางเทียมทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยจ้ำและเป็นร่างทรงของปู่ตา เพื่อแสดงให้เห็นว่าปู่ตามาปรากฏตัวจริง และเมื่อปู่ตาเข้าทรงนางเทียมจะมีการฟ้อนเกิดขึ้น ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการฟ้อนของปู่ตาและบริวาร โดยการฟ้อนมีวัตถุประสงค์ในการขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกจากหมู่บ้าน ทั้งยังเป็นการฟ้อนเพื่อปลดปล่อยอารมณ์ของบรรดาบริวาร ท่าฟ้อนนางเทียมมีลักษณะท่าฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแบบฉบับของชาวบ้านกาลึม ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะการฟ้อนออกได้ 4 ลักษณะ ได้แก่ ท่าฟ้อนเดี่ยว ท่าเข้าคู่ ท่าเข้ากลุ่ม และ ท่าฟ้อนอาวุธ ท่าทางการฟ้อนเป็นที่ไม่เน้นความสวยงาม เนื่องจากเป็นการวาดฟ้อนภายใต้จิตสำนึก ความรู้สึกนึกคิดที่อยากจะแสดงออก ลีลาการฟ้อนนั้นไม่มีแบบแผนตายตัว ไม่กำหนดว่าการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายจะใช้ท่าใดก่อนและหลัง หรือทิศทางใดก่อนของตัวผู้ฟ้อน เป็นการวาดฟ้อนที่เน้นท่าทางที่รุนแรง รวดเร็ว วาดลำแขนในลักษณะกว้าง มีการยกมือขึ้นสูงเหนือศีรษะ และวาดมือลงต่ำ เท้าเน้นการกระโดด การหมุนรอบตัว การฟ้อนนั้นมีการขย่มตัวตามจังหวะตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของการฟ้อนนางเทียมในพิธีบุญเลี้ยงบ้านของชาวบ้านกาลึม ได้เป็นอย่างดี |
บรรณานุกรม | : |
กนกอร สุขุมาลพงษ์ . (2551). ฟ้อนนางเทียม ในพิธีบุญเลี้ยงบ้าน กรณีศึกษา บ้านกาลึม จังหวัดอุดรธานี.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กนกอร สุขุมาลพงษ์ . 2551. "ฟ้อนนางเทียม ในพิธีบุญเลี้ยงบ้าน กรณีศึกษา บ้านกาลึม จังหวัดอุดรธานี".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กนกอร สุขุมาลพงษ์ . "ฟ้อนนางเทียม ในพิธีบุญเลี้ยงบ้าน กรณีศึกษา บ้านกาลึม จังหวัดอุดรธานี."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551. Print. กนกอร สุขุมาลพงษ์ . ฟ้อนนางเทียม ในพิธีบุญเลี้ยงบ้าน กรณีศึกษา บ้านกาลึม จังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.
|