ชื่อเรื่อง | : | ครามและผลิตภัณฑ์จากคราม |
นักวิจัย | : | อนุรัตน์ สายทอง , สุรชาติ เทียนกล่ำ , อำนาจ สุนาพรม , ฐิติรัตน์ แว่นเรืองรอง , สุดกมล ลาโสภา , อังคณา เทียนกล่ำ |
คำค้น | : | คราม , ผลิตภัณฑ์คราม , พันธุ์คราม |
หน่วยงาน | : | มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | http://ris.snru.ac.th/research/1209 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การศึกษาครามและผลิตภัณฑ์คราม มีจุดประสงค์ (1) เพื่อรวบรวมพันธุ์คราม และคัดเลือก พันธุ์ครามที่ให้ผลผลิตใบคราม และปริมาณสีครามมาก (2) เพื่อรวบรวมพันธุ์และศึกษาลักษณะพืชอื่น ที่ให้สีคราม และเปรียบเทียบปริมาณสีครามกับต้นคราม (3) เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดเทคนิคการทอผ้า และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้ายอ้มคราม (4) เพื่อสร้างมาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์ผ้ายอ้มครามจังหวัด สกลนครและ (5) เพื่อสร้างระบบและให้บริการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้ายอ้มครามสู่มาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มทอผ้ายอ้มครามในกลุ่มจังหวัดสนุก 4 จังหวัด ผลการศึกษาพันธุ์ครามในกลุ่มจังหวัดสนุก พบว่ามี 2 ลักษณะที่แตกต่างคือ ชนิดฝักตรงและฝักโค้งงอ เป็นไม้พุ่มสูง 102.74 - 109.15 เซนติเมตร ใบประกอบขนนก มีใบย่อย 3-21 ใบ ออกดอกเป็นช่อกระจะ สีเหลือง อมส้ม เมล็ดเล็กกลม 4-12 เมล็ดต่อฝัก ผลผลิตใบสดมากที่สุด 2,208 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ ปริมาณสีครามสูงสุด 0.1090 กรัมต่อ 100 กรัมใบสด นอกจากนี้ยังมีครามเถาหรือเปิกที่ให้สีคราม 0.0254 กรัมต่อ 100 กรัมใบสด ผลการดา เนินการพัฒนาเทคนิคการทอผ้าและการแปรรูปที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ผ้าคราม พบว่า กิจกรรมที่ 1 ได้ฟืมขนาดหน้ากว้าง 30 เซนติเมตร และ 100 เซนติเมตร จำนวน 4 คู่ แต่ละคู่ ให้ลายเดียวกัน ทอผ้ายอ้มครามได้ 6 ชิ้น จากฟืม 4 ตะกอ 2 ชิ้น ฟืม 4 ตะกอ 2 เอื้อ 1 ชิ้น ฟืม 5 ตะกอเอื้อเดียว 1 ชิ้น ฟืม 6 ตะกอ ขิดลูกโซ่อีก 2 ชิ้น ผ้าพันคอ หน้ากว้าง 30 เซนติเมตร จากฟืม 5 ตะกอเอื้อเดียว ได้รับความสนใจมากที่สุด ได้รับการสั่งซื้อทันทีและต่อเนื่อง กิจกรรมที่ 2 ไดล้ายบน กระดาษกราฟ 34 ลาย ได้รับเลือกมัดหมี่ทอเป็นผืนผ้าตัวอย่าง 6 ลายๆละ 2 เมตร เป็นผ้าลายแปลก เหมาะสำหรับตกแต่งมากกว่านุ่งห่ม กิจกรรมที่ 3 ได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปต้นแบบ 20 ชิ้น จากผ้ายอ้มคราม สีอ่อน แก่ แต่ใช้อบรมปฏิบัติการเพียง 2 ชิ้น และได้รับการสั่งซื้อทันที 1 ชิ้น ผลการสร้างระบบตรวจสอบมาตรฐานสินค้าจังหวัดสกลนคร พบว่า ผู้แทนจากทุกหน่วยงาน มีความเห็นตรงกันถึงความจา เป็นในการสร้างมาตรฐานผ้ายอ้มคราม แต่ไม่จา เป็นต้องเร่งด่วน เน้นการ พัฒนาคุณภาพคน นา ไปสู่การพัฒนาคุณภาพผ้า ให้ชุมชนเป็นผู้ควบคุม เฝ้าระวัง และสืบทอด อีกทั้ง สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในบทบาทสินค้าชุมชน โดยผู้ผลิตยอมรับมาตรฐานร่วมกัน ดังนี้ 1. ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ทั้งสีคราม เส้นใย และน้ำขี้เถ้า 2. ย้อมด้วยการหมักเนื้อครามในน้ำขี้เถ้าตามวีถีของภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. ใช้เครื่องมือทอผ้าพื้นบ้าน พัฒนาด้วยเทคโนโลยีพื้นบ้าน 4. ผ้าทุกผืนมีเอกลักษณ์ มีเรื่องราว 5. รักษาจิตวิญญาณของผู้ผลิตและชุมชน ได้แก่ ความซื่อสัตย์ สามัคคี และเอื้อเฟื้อกัน |
บรรณานุกรม | : |
อนุรัตน์ สายทอง , สุรชาติ เทียนกล่ำ , อำนาจ สุนาพรม , ฐิติรัตน์ แว่นเรืองรอง , สุดกมล ลาโสภา , อังคณา เทียนกล่ำ . (2554). ครามและผลิตภัณฑ์จากคราม.
สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. อนุรัตน์ สายทอง , สุรชาติ เทียนกล่ำ , อำนาจ สุนาพรม , ฐิติรัตน์ แว่นเรืองรอง , สุดกมล ลาโสภา , อังคณา เทียนกล่ำ . 2554. "ครามและผลิตภัณฑ์จากคราม".
สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. อนุรัตน์ สายทอง , สุรชาติ เทียนกล่ำ , อำนาจ สุนาพรม , ฐิติรัตน์ แว่นเรืองรอง , สุดกมล ลาโสภา , อังคณา เทียนกล่ำ . "ครามและผลิตภัณฑ์จากคราม."
สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2554. Print. อนุรัตน์ สายทอง , สุรชาติ เทียนกล่ำ , อำนาจ สุนาพรม , ฐิติรัตน์ แว่นเรืองรอง , สุดกมล ลาโสภา , อังคณา เทียนกล่ำ . ครามและผลิตภัณฑ์จากคราม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร; 2554.
|