ชื่อเรื่อง | : | ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำเอานโยบายจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพาไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร |
นักวิจัย | : | วัชรพล คัคโนภาส |
คำค้น | : | แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ -- นโยบายของรัฐ -- ไทย , การศึกษา -- การประมวลผลข้อมูล , คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน , Tablet computers -- Government policy -- Thailand , Education -- Data processing , Computer-assisted instruction |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2556 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52929 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาถึงระดับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ทั้งในหน่วยงานหรือองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องที่นำนโยบายไปปฏิบัติ โดยจะอาศัยกรอบแนวคิดการนำนโยบายไปปฏิบัติซึ่งได้จากการสังเคราะห์ตัวแบบทางทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติของนักวิชาการต่างประเทศและนักวิชาการไทยมาใช้ในการศึกษา และได้เลือกเอานโยบายจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพามาเป็นตัวอย่างในการศึกษาวิจัย โดยในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ จะเก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการและผู้บริหารสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับนโยบายจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา และผสมผสานกับการวิจัยเชิงปริมาณที่เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นครูที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพาในโรงเรียนซึ่งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 337 คน จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการวิเคราะห์เชิงตรรกะ (Analysis induction) การวิเคราะห์หาการกระจายของข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ด้วยสถิติวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression analysis) โดยผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภาวะผู้นำและปัจจัยนโยบาย เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลมากต่อการนำนโยบายจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพาไปปฏิบัติ เนื่องจากปัจจัยนโยบายเป็นปัจจัยที่กำหนดมาตรฐานและวัตถุของประสงค์ของนโยบาย และปัจจัยภาวะผู้นำจะเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรฐานของนโยบายอันจะก่อให้เกิดการบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบาย นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยการสื่อสาร ปัจจัยลักษณะองค์การ และปัจจัยทรัพยากร เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อันจะก่อให้เกิดโอกาสในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ตามลำดับ |
บรรณานุกรม | : |
วัชรพล คัคโนภาส . (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำเอานโยบายจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพาไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วัชรพล คัคโนภาส . 2556. "ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำเอานโยบายจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพาไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วัชรพล คัคโนภาส . "ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำเอานโยบายจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพาไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556. Print. วัชรพล คัคโนภาส . ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำเอานโยบายจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพาไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
|