ชื่อเรื่อง | : | โครงการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ ปี 2554 |
นักวิจัย | : | รัชนีวรรณ , ตาฬุมาศสวัสดิ์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | กรมฝนหลวงและการบินเกษตร |
ผู้ร่วมงาน | : | - |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | http://164.115.23.116:8060/Frontend/ShowDocument?DocumentID=45 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | การปฏิบัติการทำฝนเมฆเย็นเพื่อยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บโดยเครื่องบินโจมตีแบบ Alpha Jet โดยทำให้มีฝนตกกำลังปานกลางถึงกำลังแรง ไม่มีลูกเห็บตก และมีปริมาณฝนตกเล็กน้อย กับมีลมแรงในพื้นที่ปฏิบัติการ/พื้นที่ใต้ลมของเมฆที่ปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการปฏิบัติการที่ได้ผลร้อยละ 50 ของจำนวนวันที่ปฏิบัติการทำฝนเมฆเย็นเพื่อยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ ส่วนการปฏิบัติการแล้วไม่ได้ผล ไม่สามารถยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บได้ คิดเป็นร้อยละ 50 เช่นกัน แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 มีลูกเห็บตกบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการและพื้นที่ใต้ลมของกลุ่มเมฆปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ 17 และ กรณีที่ 2 เป็นพื้นที่ป่าไม้ไม่สามารถตรวจสอบโดยการสอบถามเจ้าหน้าที่รัฐ/ประชาชนได้ แต่จากการตรวจวัดด้วยเรดาร์ พบว่า มีฝนกำลังแรงมากและอาจจะมีลูกเห็บ คิดเป็นร้อยละ 33 จากการปฏิบัติการในปีนี้ นักวิชาการที่ตัดสินใจพยากรณ์วันที่มีโอกาสเกิดพายุลูกเห็บ และ ทำการคัดเลือกกลุ่มเมฆเป้าหมายจะต้องพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้สามารถพยากรณ์ได้แม่นยำที่สุด แต่ความแม่นยำของนักวิชาการในการพยากรณ์กลุ่มเมฆเป้าหมายที่มีโอกาสเกิดพายุลูกเห็บจากการตรวจวัดด้วยเรดาร์ตรวจวัดกลุ่มฝน คิดเป็นร้อยละ 36 เท่านั้น แต่จากการปฏิบัติการที่ผ่านมา สามารถกำหนดเกณฑ์ในการตัดสินใจขึ้นหลายส่วน และสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจปฏิบัติการทำฝนเมฆเย็นเพื่อยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บโดยเครื่องบินโจมตีแบบ Alpha Jet รวมทั้งกระบวนงานในการปฏิบัติการ ดังนี้ 1. เกณฑ์ในการพยากรณ์วันที่มีโอกาสหรือแนวโน้มที่จะเกิดพายุลูกเห็บจากข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา 1) เกณฑ์จากผลตรวจอากาศชั้นบน (Sonde2) - ค่า CAPE > CIN อย่างน้อย 1 เท่า - ค่า Parcel Buoyancy ตั้งแต่ 3 ft/min - ค่า KI มากกว่า 30 - ค่า LI และ ค่า SI น้อยกว่า 0.0 - ค่า Total PW (SFC-500MB) มากกว่า 3.8 ซม. - Mean RH 0-10,000 ฟุต ตั้งแต่ 70% - Mean Wind Speed 0-15,000 ฟุต ลมอ่อน ไม่เกิน 10 นอต ทั้งนี้ ต้องพิจารณาข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ ประกอบไปด้วย เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำในการพยากรณ์วันที่มีโอกาสเกิดพายุลูกเห็บ 2) เกณฑ์จากลักษณะอากาศ มีบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย กับมีคลื่นกระแสลมตะวันตก ลักษณะอากาศภาคเหนือ มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 35-39?C ในบางวันที่มีอากาศร้อนจัดที่มีอุณหภูมิสูงถึง 40?C หรือสูงกว่า และมีประกาศเตือนภัยฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บตก 3) เกณฑ์จากการตรวจวัดด้วยเรดาร์อมก๋อย ลักษณะบางประการของพายุลูกเห็บ คือ เมฆคิวมูโลนิมบัสที่มีความสูงยอดเมฆ (Echo Tops) สูงกว่า 10 กิโลเมตร มีความเข้มพลังงานสะท้อนกลับ (Echo) สูงกว่า 55 dBz แสดงโอกาสเกิดลูกเห็บ (Hail Probability) สูงกว่า 90% มีความสูงของความเข้มพลังงานสะท้อนกลับสูงที่สุด (Height of Maximum Reflectivity) ไม่ต่ำกว่า 8 กิโลเมตร และมีปริมาณของน้ำที่เรดาร์ตรวจพบในคอลัมน์แนวตั้ง (VIL) สูงถึง 100 kg/m2 หรือสูงกว่า 2. เกณฑ์พยากรณ์กลุ่มเมฆคิวมูลัสที่มีโอกาสเกิดพายุลูกเห็บจากตรวจวัดด้วยเรดาร์ฝนหลวง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เกณฑ์ขั้นต่ำที่เมฆคิวมูลัสขนาดใหญ่จะพัฒนาเติบโตจนกระทั่งเป็นเมฆฝนฟ้าคะนองหรือเมฆคิวมูโลนิมบัสที่มีโอกาสเกิดพายุลูกเห็บได้ คือ กลุ่มเมฆที่มีค่าพลังงานสะท้อนกลับ (Echo) ตั้งแต่ 28 dBz และจะต้องมีความสูงของเมฆ (Echo Top) ตั้งแต่ 6 กิโลเมตรขึ้นไป เป็นเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยเฉพาะความสูงของเมฆ (Echo Top) ยกเว้น กรณีที่เมฆอยู่ใกล้เรดาร์ในรัศมี 25 กิโลเมตร ซึ่งเป็นจุดบอดที่ไม่สามารถตรวจวัดความสูงของเมฆ (Echo Top) ได้ถูกต้อง 3. เกณฑ์จากลักษณะทางกายภาพของยอดเมฆที่เห็นด้วยสายตากลุ่มเมฆเป้าหมายต้องมีลักษณะทางกายภาพของยอดเมฆที่เห็นด้วยสายตาอยู่ในเกณฑ์ Hard เท่านั้น จึงจะมีโอกาสเกิดพายุลูกเห็บสูง และความสูงยอดเมฆไม่เกิน 24,000 ฟุต เพื่อให้ประสิทธิภาพในการทำฝนเมฆเย็นด้วยพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์เพื่อยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บนั้นได้ผล 4. เกณฑ์การใช้พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ (AgI) การใช้พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ จำนวน 6 นัดต่อครั้งต่อ 1 ยอดเมฆ มีความเหมาะสมกับยอดเมฆคิวมูลัสค่อนข้างเดี่ยวที่มีขนาดความกว้างไม่เกิน 1 กิโลเมตร ที่ระดับสูง 21,500 ฟุต แต่ถ้ายอดเมฆสูงกว่านี้ หรือ ยอดเมฆที่มีขนาดใหญ่กว้างกว่า 1 กิโลเมตร จะต้องเพิ่มจำนวนพลุที่ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำฝนเมฆเย็นเพื่อยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ 5. กระบวนงานปฏิบัติการการทำฝนเมฆเย็นเพื่อยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บโดยเครื่องบินโจมตีแบบ Alpha Jet ? |
บรรณานุกรม | : |
รัชนีวรรณ , ตาฬุมาศสวัสดิ์ . (2554). โครงการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ ปี 2554.
กรุงเทพมหานคร : กรมฝนหลวงและการบินเกษตร. รัชนีวรรณ , ตาฬุมาศสวัสดิ์ . 2554. "โครงการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ ปี 2554".
กรุงเทพมหานคร : กรมฝนหลวงและการบินเกษตร. รัชนีวรรณ , ตาฬุมาศสวัสดิ์ . "โครงการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ ปี 2554."
กรุงเทพมหานคร : กรมฝนหลวงและการบินเกษตร, 2554. Print. รัชนีวรรณ , ตาฬุมาศสวัสดิ์ . โครงการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ ปี 2554. กรุงเทพมหานคร : กรมฝนหลวงและการบินเกษตร; 2554.
|