ชื่อเรื่อง | : | ผลของการออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งที่มีผลต่อสุขสมรรถนะในเยาวชนหญิงที่มีน้ำหนักเกิน |
นักวิจัย | : | กิจจา ถนอมสิงหะ |
คำค้น | : | การเดิน , การออกกำลังกาย , บุคคลน้ำหนักเกิน , สตรีน้ำหนักเกิน , สมรรถภาพทางกาย , Walking , Exercise , Overweight persons , Overweight women , Physical fitness |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
ปีพิมพ์ | : | 2554 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52001 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งที่มีผลต่อสุขสมรรถนะในเยาวชนหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตหญิงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 52 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มทดลองฝึกด้วยโปรแกรมการออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่ง และกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มที่ออกกำลังกายตามปกติโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเดินวิ่ง เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิก เทนนิส แบดมินตัน เป็นต้นกลุ่มทดลองฝึกออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่งเป็นกลุ่ม เป็นเวลา10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30-50 นาที นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที แบบรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance) และเปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Analysis of Variance with Repeated Measures) ทดสอบความความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของแอลเอสดี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 10 สัปดาห์พบว่ากลุ่มฝึกออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งมีผลต่อการพัฒนาค่าเฉลี่ยของสุขสมรรถนะดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นมวลกล้ามเนื้อที่ไม่มีความแตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การฝึกออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งมีผลต่อสุขสมรรถนะที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย มีเพื่อน เหมาะสำหรับเยาวชนหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินซึ่งไม่ค่อยออกกำลังกายและมีสมรรถภาพทางกายที่ต่ำและเหมาะสมกับเยาวชนหญิงทั่วไปที่ต้องการมีเพื่อนในการทำกิจกรรมลดน้ำหนัก |
บรรณานุกรม | : |
กิจจา ถนอมสิงหะ . (2554). ผลของการออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งที่มีผลต่อสุขสมรรถนะในเยาวชนหญิงที่มีน้ำหนักเกิน.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กิจจา ถนอมสิงหะ . 2554. "ผลของการออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งที่มีผลต่อสุขสมรรถนะในเยาวชนหญิงที่มีน้ำหนักเกิน".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กิจจา ถนอมสิงหะ . "ผลของการออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งที่มีผลต่อสุขสมรรถนะในเยาวชนหญิงที่มีน้ำหนักเกิน."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554. Print. กิจจา ถนอมสิงหะ . ผลของการออกกำลังกายเป็นกลุ่มด้วยการเดินวิ่งที่มีผลต่อสุขสมรรถนะในเยาวชนหญิงที่มีน้ำหนักเกิน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
|