ชื่อเรื่อง | : | การเปรียบเทียบเส้นสีและความเร็วจากสารสนเทศการจราจรกับอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธ |
นักวิจัย | : | ธนา โปธานนท์ |
คำค้น | : | - |
หน่วยงาน | : | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ผู้ร่วมงาน | : | สรวิศ นฤปิติ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
ปีพิมพ์ | : | 2558 |
อ้างอิง | : | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50695 |
ที่มา | : | - |
ความเชี่ยวชาญ | : | - |
ความสัมพันธ์ | : | - |
ขอบเขตของเนื้อหา | : | - |
บทคัดย่อ/คำอธิบาย | : | สารสนเทศการจราจรเป็นประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ในการตัดสินใจการเดินทางที่เหมาะสม ในปัจจุบันมักใช้ข้อมูลจาก Probe เพื่อประมาณความเร็วของการจราจร และ สร้างเส้นสีจราจร รวมถึงบ่งบอกสภาพการติดขัดของการจราจร ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือของความถูกต้องระดับหนึ่ง สิ่งที่น่าสนใจคือ ต้องการวิธีที่จะตรวจสอบเปรียบเทียบความถูกต้องของสารสนเทศการจราจรที่ง่ายต่อการปฎิบัติ สามารถประเมินภาพโดยรวมของสารสนเทศการจราจรบนโครงข่ายถนนและตลอดช่วงเวลาได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการเปรียบเทียบความถูกต้องของสารสนเทศการจราจร คือ เส้นสีจราจรและความเร็ว กับข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธ ซึ่งข้อมูลที่ผู้วิจัยใช้วิเคราะห์ได้มาจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะไทย (Intelligent Traffic Information Center, iTIC) บริเวณถนนสาทร กรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลทั้งสิ้น 21 วัน กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องประกอบด้วยการจัดการข้อมูลที่จะนำมาทำเป็นสารสนเทศการจราจรที่มาจากข้อมูล Probe เทคนิคการรวมลิงก์ การจัดการข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธ การจัดการกับ outlier การเปรียบเทียบความถูกต้องของสารสนเทศการจราจรมีทั้งหมดสามวิธี ได้แก่ การเปรียบเทียบผลลัพธ์เส้นสีจราจรโดยวิธีการใช้ตารางไขว้ (Cross tabulation) การเปรียบเทียบเส้นสีจราจรและความเร็วเทียบกับช่วงความเชื่อมั่นของความเร็วจากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธ การเปรียบเทียบความเร็วโดยใช้วิธีค่าเฉลี่ยของค่าสัมบูรณ์ของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน (Mean Absolute Percentage Error, MAPE) ผลการเปรียบเทียบข้อมูลเมื่อเปรียบเทียบเส้นสีจราจรพบว่า สารสนเทศการจราจรมีความถูกต้อง 65 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาช่วงความเชื่อมั่นของความเร็วที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธจะทำให้ปฎิเสธเส้นสีจราจรที่ไม่ถูกต้อง 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาค่าความเร็วการจราจรพบว่ามีค่าอยู่ในช่วงความเชื่อมั่นของความเร็วที่ 90 เปอร์เซ็นต์ มีสัดส่วนที่ 38 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบความเร็วการจราจร พบว่า ค่าเฉลี่ยของค่าสัมบูรณ์ของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนมีค่าเฉลี่ยรวม 45 เปอร์เซ็นต์ และ มีค่าที่สูงในช่วงเวลาที่รถแล่นช้า (ติดขัด) โดยผลจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ สร้างกระบวนการหรือวิธีที่สามารถใช้หาความถูกต้องของสารสนเทศการจราจรได้ วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
บรรณานุกรม | : |
ธนา โปธานนท์ . (2558). การเปรียบเทียบเส้นสีและความเร็วจากสารสนเทศการจราจรกับอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนา โปธานนท์ . 2558. "การเปรียบเทียบเส้นสีและความเร็วจากสารสนเทศการจราจรกับอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธ".
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธนา โปธานนท์ . "การเปรียบเทียบเส้นสีและความเร็วจากสารสนเทศการจราจรกับอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธ."
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558. Print. ธนา โปธานนท์ . การเปรียบเทียบเส้นสีและความเร็วจากสารสนเทศการจราจรกับอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณบลูทูธ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
|